Thursday, May 3, 2012

การใช้ยาที่ถูกวิธี

  ภาพโดย : women.thaiza.com
ยาทาสำหรับผิวหนังมีหลายชนิดมาก ไปหาหมอทีก็ได้มาหลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็นยาทาก่อนล้างหน้า ทาก่อนนอน ยาลบริ้วรอย ยาทารอยดำ  กว่าจะได้นอนในแต่ละวัน กว่าจะมีใบหน้าที่สวยใสมันต้องอดทนเพราะ ผู้หญิงทนได้เพื่อความสวย  การทายาเริ่มต้นที่ยาน้ำ โลชั่น ลงท้ายด้วยยาขี้ผึ้ง
โลชั่น ( Lotion )
1.      โลชั่นใส (Clear lotion) เป็นน้ำใส เพราะตัวยาหลักละลายได้ดีในของเหลว เช่น  Scalp lotion , TA clear lotion
2.      แป้งน้ำ (Shake lotion ) เป็นผงสารละลายแขวนตะกอนในของเหลว เช่น Calamine lotion ตัวยาจะไม่ละลายอยู่ในของเหลว จึงต้องเขย่าขวดก่อนใช้ยา เมื่อทายาแล้วน้ำจะระเหยออก  สำหรับใช้ทาสิวคนที่ผิวแห้งไม่ควรทาแป้งน้ำจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
3.      โลชั่นน้ำนม (milk lotion) เป็นน้ำผสมกับน้ำมันโดยใช้สารลดแรงตึงผิว ช่วยทำให้น้ำรวมกับ   น้ำมันได้ มีลักษณะเป็นครีมเหลว บรรจุใส่ขวดได้
ครีม ( Cream )
 มีส่วนผสมของน้ำกับน้ำมัน เติมสารลดแรงตึงผิวและมีส่วนผสมอื่นเพื่อให้เนื้อครีมคงตัว เช่น สารลดแรงประจุ สารกันหืน สี กลิ่น และสารกันบูด ครีมแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ครีมชนิดน้ำมันเป็นส่วนผสมหลัก เช่น Cold cream เมื่อทาผิวจะมันเหมาะสำหรับผิวแห้งมาก และครีมชนิดที่มีน้ำเป็นส่วนผสมหลัก ครีมนี้ไม่มันและน่าใช้
 เจล ( Gel )
 เป็นผงสารเมื่อละลายในของเหลวจะเปลี่ยนเป็นวุ้น ไม่มีสี เมื่อทาเจลน้ำหรือของเหลวจะค่อยระเหยออกเหลือเป็นแผ่นยาเคลือบผิวหนัง ไม่เหนอะหนะ ล้างออกง่าย
 ขี้ผึ้ง ( Ointment )
 มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบ เมื่อทาแล้วจะเคลือบผิวหนังไม่ให้น้ำระเหยออกมาจากผิวหนัง ช่วยให้ผิวนุ่มและชุ่มชื้น และช่วยเพิ่มการดูดซึมตัวยาด้วย ขี้ผึ้งจะไม่ผสมสารกันบูดจึงแพ้น้อย ข
วิธีทายา
1.ครีมบำรุงผิวหรือโลชั่นให้ความชุ่มชื้น ให้ทาหลังอาบน้ำเป็นอันดับแรก
2. ยาที่เป็นโลชั่นควรทาก่อนยาที่เป็นครีมและเจล ตามด้วยขี้ผึ้งเป็นอันดับสุดท้าย
3. การทายาบำรุงผิวหรือยาให้ความชุ่มชื้น มักทาได้ทั่วไปตามร่างกาย และ สามารถทาบริเวณกว้างได้ การทายาที่ถูกวิธีควรทาจากบนลงล่างหรือทายา ตามแนวเส้นขน การทาย้อนแนวเส้นขนอาจทำให้รูขุมขนอักเสบได้ 
**สำหรับสาวๆที่ต้องแต่งหน้าควรทายาตามลำดับตามที่หมอสั่งแล้วตามด้วยรองพื้นหรือ BB กันแดด ลงแป้งแต่งหน้าได้เลย**
การดูดซึมของยาทา
1. การดูดซึมของยาผ่านผิวหนังแตกต่างกันตามส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อเรียงความสามารถดูดซึมของยาตามลำดับจากมากไปน้อยคือ เยื่อบุช่องปาก ผิวหนังหุ้มอัณฑะ หนังตา ผิวหน้า หน้าอก หลัง ต้นแขนต้นขา แขนและขา หลังมือและเท้า ฝ่ามือฝ่าเท้า และบริเวณโคนเล็บจะดูดซึมต่ำสุด การดูดซึมจะเพิ่มขึ้นในบริเวณข้อพับและหนังศีรษะ
2. ลักษณะของผิวหนัง ผิวหนังที่มีรอยโรคหรือรอยถลอก การดูดซึมของยาเข้าผิวหนังจะมากกว่าปกติ การทำให้ผิวหนังเปียกน้ำประมาณ 5 นาที จะทำให้การดูดซึมของยาเข้าผิวหนังเพิ่มขึ้น 5 เท่า
3. ปริมาณยาที่ทาไม่จำเป็นต้องทาให้หนา ควรทาบางๆและนวดจนยากลืนเข้าไปในผิวหนัง เพราะยาที่อยู่ติดผิวเท่านั้นที่ดูดซึมได้ (ครีม 1 กรัมควรทาผิวหนังได้บริเวณกว้างประมาณ 10 x 10 ซม.หรือประมาณ 1 ฝ่ามือ )
4. จำนวนครั้งของการทายา ทายาตามแพทย์สั่ง ไม่ควรทาบ่อยๆ โดยเฉพาะยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
วีธีการเก็บรักษายา
โดยทั่วไปจะระบุไว้ที่สลากยาอยู่แล้ว ถ้าไม่ระบุควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ยาที่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นส่วนใหญ่เป็นยาจำพวกวิตามิน A ยาทารอยดำ ยาทาฝ้า ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-8องศา อย่าปล่อยให้โดนแสงแดดหรือเก็บยาในที่มีความชื้นสูงเพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพได้
ครีมหรือขี้ผึ้งให้สังเกตการแยกชั้นของตัวยาหรือการหดตัวของครีมหรือจุดด่างดำที่ เนื้อครีม ควรหยุดใช้ยาเพื่อป้องกันผลข้างเคียง
ยาน้ำ ถ้ามีการตกตะกอนหรือความสม่ำเสมอของยาไม่เท่ากัน มีการแยกชั้น ซึ่งเขย่าแล้วยาไม่เข้ากันควรหยุดใช้ทันที
ควรสังเกตยาหมดอายุ โดยดูวันที่ ที่ผลิตและวันหมดอายุ ถ้าไม่ระบุไว้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
-ยาน้ำ มักมีอายุ 3 ปีนับจากวันที่ผลิตหรือวันที่ได้รับยาจากแพทย์
 - ครีมหรือขี้ผึ้ง มักมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ผลิตหรือวันที่ได้รับยาจากแพทย์
**หากยามีลักษณะสีเปลี่ยนควรหยุดใช้ทันที**
**หากใช้ยาแล้วมีอาการผื่นคันแสบบวมแดงควรหยุดยาแล้วไปพบแพทย์ทันที**

No comments:

Post a Comment